ศูนย์ข้อมูลอาเซียนโรงเรียนวัดลานบุญ

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ทรัพยากรมนุษย์กับอาเซียน
ในโลกแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีต่อเนื่องแบบไร้พรมแดนอย่างรวดเร็ว และเห็นเป็นรูปธรรม   กลุ่มประเทศอาเซียนที่ต้องมีการปรับตัว มีการจัดระเบียบใหม่ และมีการสร้างความร่วมมือใหม่ๆในหลายรูปแบบ รวมทั้งการรวมตัวที่เรียกว่า การก้าวเข้าสู่การ
เป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (
ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งการเกิดขึ้นเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นจะส่งผลกระทบกับไทยในหลายๆด้าน รวมไปถึงด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งในภาพรวมของประเทศในระดับมหภาคและทั้งในระดับตัวบุคคลที่เป็นระดับจุลภาคความก้าวหน้าของ ASCC ในด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มองว่าเด็กและเยาวชนคือหัวใจสำคัญในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตขึ้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพในทุกๆด้านด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของไทยในประชาคมอาเซียน  ในแง่นี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษด้วยการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนเสาหลักที่สำคัญทั้ง 3 เสา อาจสรุปให้เห็นเป็นสังเขป ดังนี้
 เสาหลักที่ 1 เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน เช่น การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชนและคุณค่าแห่งสันติสุขในหลักสูตรของโรงเรียน     การส่งเสริมให้ครูเกิดความเข้าใจอันดีและความชื่นชมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และความเชื่อที่แตกต่างกันในภูมิภาค     การจัดให้มีเวทีผู้บริหารโรงเรียน สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในอาเซียน การยกระดับความสามารถ และการพัฒนาเครือข่ายของผู้บริหารโรงเรียน     จะมีการส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายและติดต่อกันของนักเรียนในภูมิภาคมากขึ้น  ปกป้องและยกระดับมาตรฐานการศึกษาและวิชาชีพ 
  เสาหลักที่ 2 เสาหลักทางด้านเศรษฐกิจ      การส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายไปมาหากันของนักเรียนในภูมิภาคมากขึ้น  การสนับสนุนให้กำลังแรงงานระดับทักษะเคลื่อนย้ายไปมาในภูมิภาคมากขึ้นโดยมีการปกป้องและยกระดับมาตรฐานการศึกษาและวิชาชีพด้วยการพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นความสามารถเชิงสมรรถนะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียนมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ตลอดจนสอดรับกับความต้องการทาอุตสาหกรรม โดยประสานงานกับงานในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน    การกระตุ้นให้มีการพัฒนามาตรฐานร่วมด้านความสามารถเชิงสมรรถนะสำหรับอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อเป็นฐานในการส่งเสริมให้เกิดการยอมรับความสามารถร่วมกันต่อไป
เสาหลักที่3 เสาหลักทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม  (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) จะเน้นการจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนร่วมกันสำหรับครูเพื่อใช้สอนในโรงเรียน   การจัดให้มีวิชาเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียนในระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ  การจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาต่างๆ ของอาเซียน ในฐานะทางเลือกด้านภาษาต่างประเทศในโรงเรียน   การส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน โดยการส่งเสริมให้มีโครงการที่ออกไปยังส่วนต่างๆ  เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนในอาเซียน การประชุมเยาวชนมหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นต้น   การสนับสนุนให้ชุมชนในพื้นที่ชนบทเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ  การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน  การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ให้นักวิจัยจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ การส่งเสริมความเข้าใจ ความตระหนัก ความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมโดยมีการบูรณาการเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียน  การแบ่งปันทรัพยากร การจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาระดับภูมิภาค
              พันธกิจที่สำคัญของสมาชิกอาเซียนขณะนี้คือ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
แนวโน้นของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย
1.        การโยกย้ายแรงงานที่ใช้ทักษะสูงจากไทยไปยังประเทศอาเซียนอื่น เช่น สถาปนิกและวิศวกรในอาเซียน ไปที่สิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น
2.        การแข่งขันด้านแรงงานจะเข้มข้นมากขึ้นมีโอกาสที่จะจ้างงานด้วยค่าจ้างที่ถูกลงกว่าเดิม
3.        ช่องว่างของความแตกต่างของศักยภาพของแรงงานทักษะจะมีช่องกว้างมากขึ้นกว่าเดิมผู้ที่มีโอกาสในการพัฒนามากกว่าก็จะได้เปรียบมากยิ่งขึ้นไป
4.        เกิดความต้องการทักษะความสามารถบางอย่างสูงกว่าที่เคยเป็นก่อนหน้านี้ เช่น ทักษะความสามารถด้านภาษา  ทักษะการนำเสนอ  การมีความกล้าถามกล้านำเสนอความคิดของตน หรือที่เรียกว่า Assertiveness    การทำงานข้ามวัฒนธรรมและความหลากหลาย  ความพร้อมในการเดินทางทั้งชั่วคราวและไปประจำเป็นระยะเวลานานยังต่างประเทศ   การทำงานอย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นต้น
5.        5. การเกิดสำนักงานเสมือนจริงในสองลักษณะคือ การไม่มีสำนักงานประจำแต่มีสำนักงานที่ใช้ประชุมทางไกลโดยพนักงานยังประจำอยู่ในประเทศของตน หรือ อาจจะเกิดลักษณะของการทำงานข้ามประเทศเสมือนอยู่ในประเทศนั้น
บทสรุป
             การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับการบริหารทรัพยกรมนุษย์ในประเทศไทย เพราะการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะเสรีจะสร้างให้เกิดแรงกดดันต่อการปรับตัวของแรงงานทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เราในฐานะที่เป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการรับมือทั้งในแง่ของตัวเราเองและทั้งในแง่ของการสร้างกระบวนบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น เวลาอีกเพียง 3 ปีต้องถือว่าเป็นเวลาอีกเพียงไม่นาน หากเราไม่มีการเตรียมการให้เป็นอย่างดีแล้ว ผลกระทบที่จะเกิดต่อทรัพยกรมนุษย์ในประเทศของเราจะเป็นไปอย่างรุนแรง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนนั้นแล้ว ศักยภาพของประเทศที่จะอยู่รอดได้อย่างเต็มภาคภูมิในระดับอาเซียนก็ดูเหมือนเป็นไปอย่างเลือนลาง ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนที่เป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องตระหนักและลงมือทำ ณ จากวันนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ข้อมูลอ้างอิง
§ ไม่ระบุชื่อผู้เขียน ความท้าทายและโอกาส ของไทยในประชาคมอาเซียน” 19 เมษายน 2553; http://www.ftawatch.org/all/news
§ ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์ ประชาคมอาเซียนและกฎบัตรอาเซียน คืออะไร และสำคัญอย่างไร” 17 สิงหาคม 2552; http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น