ศูนย์ข้อมูลอาเซียนโรงเรียนวัดลานบุญ

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ปฏิวัติดอกมะลิและวิกฤติไซปรัส


เหตการณ์โลกปัจจุบันที่น่าสนใจ
โดยวาสนา  รังสร้อย


1.      ปฏิวัติดอกมะลิ

การปฏิวัติดอกมะลิ หรือ Jasmine Revolution (แจสมิน เรโวลูชั่น) หรือ Révolution de jasmin
(เรโวลูซียง เดอ ฌัสแม็ง) เมื่อไล่เรียนที่มาของการปฏิวัติที่แสดงกระบวนการเชิงวาทกรรมกับการใช้สัญลักษณ์ ในการเร่งเร้าอารมณ์และระดมผู้คนเข้าร่วมการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางสังคมในภูมิภาคหนึ่ง ๆ ดังนี้ จากเหตุการณ์ ในตูนิเซีย เริ่มจากนาย Mohamed Bouazizi วัย 26 ปี ตกงานและต้องหารายได้เลี้ยงดูคนในครอบครัว 8 คน เขาจึงเข็นรถขายผักที่ไม่มีใบอนุญาตไปตามเมือง sidi Bouzid ทางตอนใต้ของตูนีเซียจนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม  2010  ถูกตำรวจหญิงยึดรถเข็นขายผักไป ด้วยไม่รู้ว้าเกิดอะไรขึ้นนจึงพยายามจ่ายเงิน 10 ดีน่า แต่กลับถูกตำรวจหญิงคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้าและดูถูกพ่อของเขา เขาก็เลยไปร้องเรียนที่ provincial headquarters แต่สิ่งที่ได้รับคือ การไม่สนใจและได้รับการปฏิบัติแบกกากเดนไม่มีค่า เป็นพลเมืองขยะ เขาจึงโมโหแล้วไวปพ่นสีเขียนข้อความด่าตามที่สาธารณะก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิต เพื่อประท้วงเจ้าหน้าที่ทางการนั่นเอง ต่างก็หมายถึง การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตูนิเซีย ที่เพิ่งเกิดขึ้นและดำเนินอยู่ และได้ส่งผลกระทบทั้งในประเทศตูนิเซีย และประเทศรอบข้างเป็นจำนวนมาก  สาเหตุที่นำไปสู่สถานการณ์    ขั้นวิกฤตของประเทศนี้  เนื่องด้วยเป็นประเทศในแอฟริกา ผู้คนนับถือศาสนาอิสลามและมีประวัติยาวนานภายใต้การปกครองของอาหรับและอาณาจักรออตโตมัน จึงทำให้ภาษารัฐการของประเทศคือ ภาษาอาหรับ (อาหรับตูนิเซีย) แต่ด้วยเคยเป็นดินแดนของฝรั่งเศสมาเป็นเวลาเกือบ 80 ปี ทำให้ผู้คนสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้อย่างกว้างขวาง แม้ในปัจจุบัน ชาวตูนิเซียส่วนมากก็ยังสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสในชีวิตประจำวันอยู่
ซีน เอล อาบีดีน เบน อาลี(Zine El Abidine Ben Ali) ผู้ยึดอำนาจซึ่งอ้างว่า บูร์กีบา มีปัญหาทางสุขภาพ ปฏิบัติรัฐการในฐานะประธานาธิบดีไม่ได้ แล้วก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี และครองอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน (หรือเปล่า?) ในการบริหารของประธานาธิบดี เบน อาลี (ตั้งแต่ 1987) มีการเลือกตั้งปธน.ในปี 1989, 1994, 1999, 2004 และ 2009 เบน อาลีก็ได้รับเลือกกว่า 90% ทุกครั้ง โดยเฉพาะสองครั้งแรกที่ไม่มีใครลงสมัครนอกจากตัวเขาเอง ดูเป็นประชาธิปไตยเพราะมีการเลือกตั้ง แต่ที่จริงก็แฝงด้วยม่านเผด็จการนั่นเอง และด้วยสาเหตุนี้ทำให้ประชาชนเริ่มไม่พอใจ คัดค้าน ต่อต้าน จนในที่สุดออกมาประท้วงกันขนานใหญ่
             สาเหตุของการประท้วงหลักๆ คือ สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ เงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง ชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้น อัตราการว่างงานสูง มีการปิดกั้นเสรีภาพในการพูด และที่สำคัญที่สุดคือ การคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงของข้ารัฐการและสมาชิกคณะรัฐมนตรีและครอบครัว ปัญหาทั้งหมดนี้ได้สั่งสมมาเป็นเวลานาน จึงเกิดการประท้วงโดยเริ่มต้นเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา ที่เมืองแห่งหนึ่งชื่อว่า ซีดี บูซิด (Sidi Bouzid)
            ไม่เพียงแค่เ มืองซีดี บูซิด แค่นั้น ประชาชนจำนวนมากก็เริ่มรวมตัวกันในเมืองใหญ่ๆ การประท้วงได้รุนแรงมากขึ้นพร้อมกับนโยบายการปราบปรามที่เด็ดขาดขึ้น ปธน. เบน อาลีได้ประณามการประท้วงว่าเป็นพวกหัวรุนแรงและเห็นแก่เงิน ทั้งยังประกาศจะนำตัวผู้ประท้วงเข้าคุก  14 ม.ค. 2553 เบน อาลีก็ได้ยุบ คณะรัฐมนตรี และประกาศกฎอัยการศึก และยังได้สัญญาว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2014 แต่ก็สายไปเสียแล้ว เบน อาลีได้ขึ้นเครื่องบินอพยพไปยังซาอุดิอาระเบีย พร้อมครอบครัว ทองคำกว่า 1.5 ตันมูลค่ากว่า 45 ล้านยูโร หลังจากฝรั่งเศสปฏิเสธการลี้ภัย   การประท้วงก็ยังไม่จบสิ้น เพราะข้ารัฐการของเบน อาลีส่วนใหญ่ยังอยู่ในตำแหน่งระดับสูงของประเทศ พูดง่ายๆ ก็คือ เปลือกน่ะออกไปแล้ว แต่ผลข้างในยังอยู่เต็มไปหมด ต่อมามีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ประชาชนก็ยังไม่เลิกประท้วง เพราะยังไม่พอใจคณะรัฐบาล และปัจจุบันก็ยังประท้วงกันต่อไปเรื่อยๆ  การประท้วงครั้งนี้จะไม่สำคัญเลยถ้าหากไม่เป็น domino effect ซึ่งปฏิวัติตูนิเซียครั้งนี้ ก็ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศรอบข้างในแถบอาหรับเป็นจำนวนมากที่มีการปกครองคล้ายคลึงกับตูนิเซีย คือ ประชาธิปไตยในคราบเผด็จการ  เพราะการปกครองของโลกอาหรับนั้น มักจะเป็นเผด็จการแทบทั้งสิ้น เช่น
* อียิปต์ - ปธน. มูบารัค ครองตั้งแต่ 1981
* แอลจีเรีย - ปธน. บูเตฟลิกา ครองตั้งแต่ 1999
* ลิเบีย - ปธน. กัดดาฟี ครองตั้งแต่ 1969
* เยเมน - อับดุลลาห์ ซาเลห์ ครองตั้งแต่ 1994
กระแสการปฏิวัติดอกมะลิถูกโยนเข้ามาประเทศในเอเชีย ล่าสุดไปปรากฏในประเทศจีน แต่สุดท้ายตำรวจจีนก็จับผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วและที่ใหม่กว่านั้นคือ การที่เกาหลีใต้พยายามปลุกการปฏิวัติดอกมะลิในเกาหลีเหนือ โดยที่เกาหลีใต้พยายามจุดกระแสการปฏิวัติดอกมะลิ     
ศาสตราจารย์ Andrei Lankov ของกรุงโซลมหาวิทยาลัย Kook min กล่าวกับซีเอ็นเอ็นว่าอียิปต์เข้าถึงอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าร่วมพรรคฝ่ายค้านและอาจจะอยู่รอดได้จากประสบการณ์ แต่รัฐบาลเกาหลีใต้  ได้เปิดนโยบายใหม่ของการสงครามจิตวิทยากับการออกอากาศโฆษณาชวนเชื่อเมื่อเดือนพฤษภาคมหลังจากการตรวจสอบพบว่าเกาหลีเหนือเป็นผู้รับผิดชอบการจมเรือรบเกาหลีใต้
            หลังเบน อาลีออกนอกประเทศ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลผสมรักษาการยังได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกพรรคของเบน บาลี ได้แก่ พรรคอาร์ซีดี ในกระทรวงสำคัญหลายกระทรวง ขณะที่มีฝ่ายค้านอยู่ในกระทวงอื่น ๆ โดยจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีซึ่งไม่ได้มาจากพรรคอาร์ซีดีห้าคนได้ลาออกจากตำแหน่งเกือบจะในทันที และมีการประท้วงตามท้องถนนทุกวันในตูนิสและเมืองอื่นทั่วตูนิเซียยังดำเนินต่อไป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ต้องไม่มีสมาชิกที่มาจากพรรคอาร์ซีดี และให้ยุบพรรคอาร์ซีดี วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 นายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด กานนูชิ (Mohamed Ghannouchi) ได้สับเปลี่ยนตำแหน่งในรัฐบาล โดยปลดรัฐมนตรีที่มาจากพรรคอาร์ซีดีทั้งหมด ยกเว้นตัวเขาเพียงคนเดียว วันที่ 6 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2554 รัฐมนตรีมหาดไทยคนใหม่ยุติกิจกรรมพรรคทั้งหมดของอาร์ซีดี โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง พรรคถูกยุบ ตามข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554
หลังมีการประท้วงสาธารณะเพิ่มเติม กานนูชิ ลาออกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2554  และเบจิ คาอิด เซบซี่ (Beji Caid Sebsi) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน สมาชิกรัฐบาลเฉพาะกาลอีกสองคนลาออกในวันรุ่งขึ้น วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีประกาศว่า การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จึงคาดกันว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะถูกเลื่อนออกไปหลังวันนั้น และเป็นที่น่าสังเกตว่า โดยเฉพาะอย่างตูนิเซียมักจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคนักเคลื่อนไหวชาวตูนิเซียเป็นกลุ่มที่เปิดเผยมากที่สุดในภูมิภาคของโลก โดยมีข้อความสนับสนุนหลายข้อความถูกโพสต์ลงในทวิตเตอร์เพื่อสนับสนุนบูอาซีซี
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 การประท้วงในธาลาปะทุรุนแรงขึ้นจากภาวะการว่างงานและค่าครองชีพที่สูง ได้มีการเดินขบวนซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 250 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนการประท้วงในซีดี โบซิด ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม โดยแก๊สกระป๋องหนึ่งได้ไปตกในบริเวณสุเหร่าท้องถิ่น มีรายงานว่าผู้ชุมนุมประท้วงตอบโต้จุดไฟเผายางรถยนต์และโจมตีสำนักงานของพรรคอาร์ซีดี ซึ่งเป็นพรรคของประธานาธิบดีเบน อาลีการประท้วงบางส่วนเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการตรวจพิจารณาออนไลน์ของรัฐบาล ที่ซึ่งภาพสื่อจำนวนมากได้รับการออกอากาศ ทางการตูนิเซียได้รับการกล่าวหาว่าดำเนินปฏิบัติการหลอกลวงเพื่อควบคุมรหัสผ่านของผู้ใช้และตรวจสอบการวิพากษ์วิจารณ์ออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ของรัฐและเอกชนต่างก็ถูกเจาะระบบเข้าไปเช่นเดียวกัน   
ระบอบใหม่ภายหลังการเปลี่ยนผ่านในอียิปต์ ตลอดจน "การปฏิวัติดอกมะลิ" ในโลกอาหรับโดยรวม จึงจะไม่ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มมุสลิมเคร่งศาสนาซึ่งทรงพลังและอิทธิพลอย่างสูงกระทั่งส่งผลสะท้านกลับไปยังโลกตะวันตกข้ามทวีปมาที่เมืองไทย นอกจากคำสัมภาษณ์อันสุดแสนจะตลกร้ายที่แนะนำให้ผู้นำอียิปต์รู้จักอดทนอดกลั้นและเคารพความต้องการของประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีผู้ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์นองเลือดกลางกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2553 กล่าวผ่านซีเอ็นเอ็นแล้วก็ดูเหมือนว่าชาวไทยจำนวนไม่น้อยจะได้รับอิทธิพลการต่อสู้บางอย่างมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตูนิเซียและอียิปต์ ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งหลังสุด มีการชูป้ายข้อความที่อ้างอิงกลับไปยังการต่อสู้ในประเทศตูนิเซียเช่นกันกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและสมาชิกเครือข่าย ที่เดินทางไปชุมนุมประท้วงและยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อันเป็นการยึดโยงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทยและอียิปต์ให้เข้ามาเชื่อมร้อยกันโดยมิต้องพิจารณาถึงบริบทเฉพาะหลายต่อหลายด้านที่มีความแตกต่างกันระหว่างสังคมการเมืองไทยกับสังคมการเมืองอียิปต์เช่น อย่างน้อยสังคมไทยก็ไม่เคยเผชิญหน้ากับปัญหาอันเกิดจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศแต่หากจะลองพิจารณาค้นหาลักษณะร่วมระหว่างสังคมการเมืองไทยกับสังคมการเมืองอียิปต์ เราก็อาจพบลักษณะร่วมสำคัญอย่างน้อย 2 ประการ
หนึ่ง คือ อิทธิพลของ "สื่อใหม่" ที่มีความสามารถระดมมวลชนในทางการเมืองได้อย่างน่าสนใจ และสังคมไทยเองก็เคยผ่านประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวมาแล้วเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา
สอง คือ สภาวะอึดอัดคับข้องใจต่อระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่ ซึ่งถูกมองว่าไม่สามารถให้ความยุติธรรมต่อผู้คนในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน และปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ทัน
ส่วน กระแส "ปฏิวัติดอกมะลิ" จะส่งผลสะเทือนจากกรุงตูนิส-ไคโร มาถึงประเทศไทยได้มากน้อยแค่ไหนนั้น คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต ซึ่งลักษณะและข้อเรียกร้องของชุมนุมประท้วงมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายในของแต่ละประเทศ
คำถามคือ  โดมิโนตัวต่อไปจะล้ม ณ ดินแดนแห่งใดในโลกอาหรับเพราะดูเหมือนในเวลานี้กระแสของการเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพและกระแสต่อต้านคณะผู้ปกครองที่ฉ้อฉลไร้ศักยภาพดูจะทวีกำลังรุนแรงมากขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอาหรับ
อย่างไรก็ตามกระแสการลุกฮือขึ้นประท้วงของประชาชนคนอาหรับไม่ได้มีผลลัพธ์เหมือนตูนีเซียและอียิปต์เสมอไปนั่นหมายความว่ากลุ่มประเทศในโลกอาหรับนั้นมีลักษณะปัญหาเชิงโครงสร้างที่คล้ายกันอยู่หลาประการ เช่น
1.      ประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก  และคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ว่างงาน
2.      เผชิญกับราคาอาหารที่สูงขึ้น
3.      ภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
4.      ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
5.      ประเทศมีการปกครองแบบเผด็จการ
6.      ผู้นำที่ครองอำนาจยาวนาน
7.      ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง
จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายอำนาจรัฐประกอบกับขบวนการภาคประชาชนของอียิปต์มีความเข้มแข็ง เมื่อบวกกับปัจจัยดังกล่าวจจึงทำให้การปฏิวัติของอียิปต์ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 18 วันส่วนสถานการณ์ในลิเบีย  ซีเรีย  เยเมนและอื่น ๆ นั้น แตกต่าง เพราะแต่ละประเทศแบ่งเป็นกลุ่มก้อนที่ขัดแย้งกันเป็นนิกายทางศาสนา คนกลุ่มน้อยที่คอบผูกขาดอำนาจเพื่อปกครองคนกลุ่มใหญ่ ดังนั้นถึงแม้จะมีการประท้วงอย่างสงบในระยะแรกแต่ก็แปรสภาพไปเป็นความรุนแรงอย่างรวดเร็วบางประเทศบานปลายเป็นสงครามกลางเมือง
นอกจากชื่อ การปฏิวัติดอกมะลิแล้ว เหตุการณ์ในตูนิเซียยังมีชื่อที่เรียกขานอีกหลายชื่อ เช่น Sid Bouzid Intifadah หรือการประท้วงการกดขี่ที่เมืองซิด บูซิด รวมทั้งชื่อในภาษาอาหรับซึ่งหมายความถึงการปฏิวัติซึ่งเกิดจากระบบข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ และนับเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติหลากสี (Colour Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา โดยในปี 2003 ได้เกิดการประท้วงการเลืองตั้งที่จอร์เจีย เมื่อผู้นำฝ่ายค้านซึ่งตามโพลล์คาดว่าจะชนะการเลือกตั้ง แต่กลับไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล การประท้วงครั้งนั้นได้ลุกลามไปสู่การปฏิวัติในจอร์เจีย เนื่องจากผู้นำฝ่ายค้านถือดอกกุหลาบในวันที่ขึ้นปราศรัยโจมตีการเลือกตั้ง ทำให้การปฏิวัติในจอร์เจียถูกเรียกในภายหลังว่า การปฏิวัติดอกกุหลาบ
 ในปี 2004 เกิดการปฏิวัติในยูเครนในลักษณะเดียวกันกับที่จอร์เจีย แต่คราวนี้ผู้ประท้วงใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ จึงถูกเรียกว่า การปฏิวัติสีส้มปี 2505 เกิดการ ปฏิวัติดอกทิวลิปหรือ ปฏิวัติสีชมพูที่คีร์กีซสถาน และ ปฏิวัติซีดาร์ในเลบานอน กับการประท้วงของกลุ่มสตรีในคูเวต ซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติสีน้ำเงินรวมทั้ง การปฏิวัติสีม่วงในอิรัก เพื่อประท้วงการเลือกตั้งที่สหรัฐหนุนหลัง
จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า ตูนิเซียนั้น จัดว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาและกลุ่มอาหรับ เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 8 ของราชสีห์แห่งแอฟริกา และเคยเป็นประเทศอันดับหนึ่งของกาฬทวีปในด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ตูนิเซียเป็นประเทศที่ค่อนข้างเสรีและทันสมัย ประชาชนมีการศึกษาสูง แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าฉงนว่าเหตุใด การปฏิวัติที่ใช้เวลาเพียง 28 วัน จึงสามารถโค่นล้มผู้นำที่อยู่ในอำนาจมาถึง 23 ปีลงได้
            คำตอบข้อแรกก็คือสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกในเวลานี้ได้ส่งผลกระทบต่อตูนิเซียเช่นเดียวกับอีกหลายๆ ประเทศ และสิ่งที่ตามมาก็คือการลดปริมาณการผลิตหรือชั่วโมงการทำงาน การเลิกจ้างงาน จนถึงการปิดกิจการ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนที่เป็นลูกจ้างโรงงานหรือพนักงานบริษัท
ห้างร้านโดยตรง
             คำตอบข้อที่สองคือเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองซิด บูซิด ก็คงจะพอมองเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้ารัฐการ ใช้อำนาจข่มเหงรังแกราษฎรตามอำเภอใจ ประชาชนไม่สามารถมีปากเสียงหรือเรียกร้องความยุติธรรมได้ ซึ่งแน่นอนว่า ปัญหาเรื่องปากท้องและสิทธิเสรีภาพ มิได้มีเฉพาะในตูนิเซียเพียงประเทศเดียว ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ ปฏิวัติดอกมะลิได้แผ่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จากตูนิเซีย สู่อียิปต์ ลิเบีย เยเมน และประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา อาหรับ และเอเชีย  และหนทางที่จะแก้ไขหรือป้องกันการ ปฏิวัติดอกมะลิย่อมไม่ใช่การใช้อำนาจรัฐปราบปรามประชาชน หากแต่จะต้องคลี่เปลาะและคลายปมปัญหาเศรษฐกิจและสิทธิเสรีภาพในประเทศของตนเท่านั้น
ดังนั้นหนทางที่จะแก้ไขของรัฐบาลหรือผู้นำประเทศควรต้องปฏิบัติตนดังนี้
1.      การใช้ชีวิตอย่างสมถะ
2.      ป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันทุจริตฉ้อฉล เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุน
3.      ปรับการปกครองลักษณะพื้นฐานของรัฐแบบเผด็จการไม่ต่อเนื่องยาวนานเกินไป
4.      ต้องยอมรับและให้ความสำคัญกับการขยายตัวทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของกลุ่มเยาวชน ชนชั้นกลางและปัญญาชน
5.      กลยุทธต้องมีกระบวนการและมีแบบแผน ชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

2. วิกฤติไซปรัส

ประเทศไซปรัส เป็นประเทศเล็ก มีประชากร 1.1 ล้านล้านคน ได้รับเอกราชจากอังกฤษ 16 สิงหาคม 1960 เข้ารวมสหภาพยุโรป 1 พฤษภาคม 2004 สกุลเงินคือยูโร ภาษาราชการ ภาษากรีซ ภาษาตุรกี ตลาดหุ้นเปิดเมื่อกลางปี 2010 เป็นตลาดเปิดใหม่ เปิดหลังวิกฤตการณ์ Hamburger crisis หลังจากเปิดตลาดหุ้น ตลาดก็ตกอย่างเดียว มีฟื้นตัวบ้าง แล้วก็ตกต่อ ตลาดหุ้นพังทลายลงถึง 94 เปอร์เซ็นต์ เปิดตลาดหุ้นมาประมาณ 2 ปี ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศย่อยยับลงทั้งหมด
ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป เป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัย ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน
บ้างในแต่ละประเทศ แต่โดยรวมแล้วสามารถสรุปมูลเหตุสำคัญที่นำมาซึ่งปัญหานี้ได้ ดังนี้
1.  การดำเนินนโยบายรัฐ สวัสดิการ และนโยบายประชานิยมเพื่อการแข่งขันทางการเมือง ทำให้
หลายประเทศต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากเป็นภาระผูกพันกับงบประมาณต่อเนื่องมา ขณะที่รายจ่ายดังกล่าวส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ หากแต่เป็นการเพิ่มสวัสดิการและกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคประชาชนเพียงระยะสั้น ๆ
2.  รัฐบาลจัดเก็บรายได้ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การหลบเลี่ยงภาษี
และการเข้าเป็นสมาชิก Euro Zone ที่ทำให้การจัดเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันลดลง ขณะที่การปรับขึ้น
ภาษีก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชน
3.  การใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นมา ได้สร้างข้อจำกัดให้กับ
การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นการส่งออกของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปใต้ ที่มีฐานะและเศรษฐกิจอ่อนแอกว่า
4.  ความพยายามในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Euro Zone ของบางประเทศ เพื่อให้มีโอกาสใน
การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ต้นทุนต่ำได้ง่ายขึ้น ทำให้มีการตกแต่งตัวเลข ให้มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขในการเป็นสมาชิก และนำเงินกู้ยืมดังกล่าวไปใช้จ่ายเกินตัว โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิด
มูลค่าเพิ่มในอนาคต ทำให้ภาระหนี้พอกพูนขึ้นจนเกินความสามารถในการชำระหนี้
5.  การขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎข้อบังคับของ Euro Zone โดยเฉพาะการควบคุม
หนี้สาธารณะให้ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ GDP และขาดดุลงบประมาณไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP ทำให้
ปัญหาทางการคลังของแต่ละประเทศอยู่ในภาวะเรื้อรัง
6.  วิกฤต Sub-prime ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงยุโรปถดถอยลงต่อเนื่องในช่วงปี
2551 - 2552 ทำให้รายได้จากภาษีของรัฐบาลยุโรปลดลงมาก จึงจำเป็นต้องก่อหนี้เพื่อนำเงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ฐานะการคลังของยุโรปยิ่งอ่อนแอลงมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคการเงินและธนาคารพาณิชย์ในยุโรปยังได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤต Sub-prime เพราะมีความเชื่อมโยงกับระบบการเงินสหรัฐฯ สูงอีกทั้งเกิดปัญหาฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ และมีหนี้เสียจำนวนมากที่รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือโดยการโอนหนี้ภาคเอกชนไปเป็นของรัฐ โดยเฉพาะในไอร์แลนด์ และสเปน จนเป็นเหตุให้สถาบันจัดอันดับประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของแต่ละประเทศลง โดยเฉพาะในกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกสไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน)
ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ของวิกฤติหนี้ในยุโรป
ปัญหาหนี้ในยุโรปประทุขึ้นรุนแรงจนถึงขั้นวิกฤต เมื่อฐานะการคลังของกรีซย่ำแย่มาก จากตัวเลข
ในปี 2552 กรีซขาดดุลการคลังสูงถึงร้อยละ 15.5 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับที่กลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP ถึงประมาณ 5 เท่า และมีสัดส่วนหนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ 112.6 ของ GDPเทียบกับเกณฑ์ข้อตกลงของกลุ่มสหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP ประกอบกับเศรษฐกิจโลกหดตัวในปี 2552 และค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ทำให้กรีซขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 14 ของ GDP จนทำให้กรีซต้องประกาศเลื่อนการชำระหนี้ออกไปจากกำหนดเดิม และยังไม่เห็นหนทางที่จะแก้ปัญหาหนี้ได้ เป็นเหตุให้สถาบันจัดอันดับชั้นนำของโลกได้แก่ Fitch Ratings Moody’s และ S&P ต่างปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลของกรีซลง โดยเฉพาะ S&P ที่ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงต่อเนื่องจนสู่ระดับ Junk Status ซึ่งในที่สุดกรีซต้องขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศในยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในเดือนพฤษภาคม 2553 โดยในรอบที่ 1 นี้ กรีซได้รับเงินช่วยเหลือไป 1.1 แสนล้านยูโรวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศสมาชิกยูโรโซน และ IMF ต่างตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันหามาตรการแก้ไขเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) ที่มีวงเงินรวม 7.5 แสนล้านยูโร(สมาชิกยูโรโซน 5 แสนล้านยูโร และจาก IMF 2.5 แสนล้านยูโร) เพื่อปล่อยกู้ให้กับประเทศสมาชิกที่ขาดสภาพคล่อง หรือประสบปัญหาในการชำระคืนหนี้ อย่างกรณีกรีซ แต่ประเทศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินการคลังที่กำหนดไว้ด้วย เช่น ต้องปรับลดการขาดดุลการคลังให้ได้ตามกำหนดภายในกี่ปี ต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างไรบ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ดี วิกฤติหนี้สาธารณะยังคงกระจายตัวไปสู่ไอร์แลนด์และโปรตุเกส โดยทั้ง 2 ประเทศขอรับความช่วยเหลือในเดือนพฤศจิกายน 2553 และพฤษภาคม 2554 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กรีซเองแม้จะได้รับเงินช่วยเหลือรอบแรกไปแล้ว แต่การต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ Troika (ประกอบไปด้วย 3 หน่วยงาน คือ European Commission (EC),European Central Bank (ECB), และ IMF) โดยเฉพาะการใช้มาตรการรัดเข็มขัด แม้จะเป็นการรักษาวินัยทางการคลัง แต่ก็เป็นปัจจัยที่กดดันต่อการบริโภคและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งยังมีการต่อต้านจากประชาชนด้วย ทำให้กรีซไม่สามารถสร้างรายได้มาชำระหนี้ที่ทยอยครบกำหนดด้วยตนเองได้ จึงต้องขอปรับลดหนี้กับเจ้าหนี้ภาคเอกชนลงครึ่งหนึ่ง และขอรับวงเงินช่วยเหลือรอบสองอีก 1.3 แสนล้านยูโร ขณะที่ยูโรโซนและ IMF ก็ตัดสินใจเพิ่มขนาดเงินกองทุน ESFS เป็น 1 ล้านล้านยูโร เพื่อรองรับปัญหาที่มีแนวโน้มขยายวงและรุนแรงขึ้น พร้อม ๆ กับการเตรียมจัดตั้งกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป(European Stability Mechanism: ESM) เพื่อเป็นกองทุนถาวรในการรักษาเสถียรภาพของยุโรปแทนEFSFแรงกดดันจากปัญหาของกรีซยังไม่หมดไป เมื่อผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ปรากฏว่าพรรค Syriza ที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก แต่ไม่อาจร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ 2 พรรครัฐบาลเดิมได้ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ สร้างแรงกดดันว่า หาก Syriza ชนะการเลือกตั้งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจยกเลิกพันธะสัญญาที่ตกลงไว้กับ EU และ IMF ซึ่งอาจทำให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือในรอบต่อ ๆ ไปอีก และต้องล้มละลายลง จนกระทั่งออกจากยูโรโซน อันจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยเฉพาะฝรั่งเศส และเยอรมนี ที่เป็นประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ และประเทศในกลุ่ม PIIGS อื่น ๆ ซึ่งจะบั่นทอนความเชื่อมั่นและสถานะของเงินยูโร จนอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง ความกังวลดังกล่าวสะท้อนไปที่ตลาดหุ้นทั่วโลกที่ดิ่งลงและเคลื่อนไหวผันผวน ขณะที่ค่าเงินยูโรก็อ่อนค่าลงอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2ในวันที่ 17 มิถุนายน 2555 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมซึ่งสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และกรีซยังไม่ต้องออกจากยูโรโซน แรงกดดันจากปัญหากรีซ จึงผ่อนคลายลงได้ชั่วคราว
            ความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปยังคงประทุขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อปัญหาของสเปนและ อิตาลี มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น สะท้อนจากข้อมูลสำคัญ อาทิ
1.      ฐานะการคลังอ่อนแอ โดยสเปนขาดดุลงบประมาณสูงเป็นอันดับ 3 ในยูโรโซน รองจากไอร์แลนด์และกรีซที่เกิดวิกฤตไปแล้ว ขณะที่อิตาลี ก็สูงเกินกว่าเกณฑ์ของยูโรโซนที่ 3% ของ GDP
2.    มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของยูโรโซน โดยอิตาลีมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงเป็นอันดับ 2 ในยูโรโซน รองจากกรีซที่เกิดวิกฤตไปแล้ว ทั้งนี้ มี 10 เมืองในอิตาลีที่เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้และล้มละลาย อาทิ นครเนเปิลส์ ปาแลร์โมในแคล้นซิซิลี และ เรกโจ คาลาเบรีย ส่วนสเปนก็มีหนี้สาธารณะสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (60% ของ GDP) เช่นกัน อันดับเครดิตลดลงต่อเนื่อง โดยสถาบันจัดอันดับชั้นนำ 3 แห่ง ได้แก่ Standard & Poor’s(S&P) Moody’s และ Fitch Ratings ต่างปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนและอิตาลี ลงอย่างรวดเร็ว2 - 5 ขั้น ทั้งในระดับประเทศและสถาบันการเงิน แต่เฉลี่ยแล้ว สเปนถูกปรับลดลงเร็วและแรงกว่าอิตาลี
3.      เครื่องชี้เศรษฐกิจส่วนใหญ่หดตัว เช่น การลงทุนที่โน้มลดลง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้ง 2 ประเทศหดตัวต่อเนื่อง อัตราการว่างงานสูง โดยเฉพาะสเปนที่อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นเกิน 24% สูงสุดในยุโรป ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างต่อเนื่อง แต่โดยเฉลี่ยสเปนขาดดุลสูงกว่าอิตาลี
4.      มียอดหนี้ที่จะครบ Due ในปี 2555 รวมกันกว่า 3 แสนล้านยูโร ขณะที่อัตราผลตอบแทนในการประมูลพันธบัตรสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะสเปนที่ขยับขึ้นเกินระดับ 7% ซึ่งเป็นจุดที่กรีซ โปรตุเกส และ ไอร์แลนด์ต้องเข้ารับความช่วยเหลือในระดับประเทศ (sovereign bailout) ซึ่งหากไม่สามารถระดมทุนมา ชำระหนี้ได้ทัน ก็จะเกิดปัญหาใหญ่ และผลกระทบจะมีมากกว่ากรณีกรีซ เนื่องจาก อิตาลีและสเปนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 และ 4 ของยูโรโซน ตามลำดับ และต่างก็เป็นลูกหนี้สำคัญของเยอรมนีฝรั่งเศส และอังกฤษ
            วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปได้เป็นผลมาจากปัจจัยซับซ้อนหลายปัจจัยประกอบกัน รวมทั้งโลกาภิวัฒน์ของการเงิน ภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายระหว่างช่วง พ.ศ. 2545-2551 ซึ่งกระตุ้นการปฏิบัติให้กู้ยืมและกู้ยืมความเสี่ยงสูง การค้าระหว่างประเทศไม่สมดุล ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แตกนับแต่นั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าใน พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้น ทางเลือกนโยบายการเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายเพื่อสิทธิสูง และวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการธนาคารที่ประสบปัญหาและผู้ถือพันธบัตรเอกชน ภาระหนี้เอกชนที่แบกรับหรือการสูญเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม (socializing) วงจรปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป นับว่าใหญ่และซับซ้อนเกินกว่าที่แต่ละประเทศจะแก้ไขได้เองตามลำพัง และจะแก้ไขเพียงจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ (รูปที่ 11) ในการประชุมผู้นำ EU เมื่อวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2555 จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการ Refinance ระยะยาว 3 ปี (LTRO) ที่ออกมาใช้ก่อนหน้า ได้แก่ 1) ให้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลภาคธนาคาร โดยมีธนาคารกลางยุโรปเป็นแกนนำ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสหภาพธนาคารของยูโร 2) ให้กองทุน EFSF และ ESM เพิ่มทุนให้ธนาคารโดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล 3) ให้กองทุน ESM แทรกแซงตลาดพันธบัตรได้ เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนระดมทุนที่สูงขึ้น 4) อนุมัติวงเงิน 1.20 แสนล้านยูโร เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในยุโรป นอกจากนี้ ยังมีแผนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของสเปนออกมาด้วย ซึ่งข้อที่สำคัญคือ ให้เงินก้อนแรก 3 หมื่นล้านยูโรแก่รัฐบาลสเปนเพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่อ่อนแอ และขยายกรอบเวลาให้รัฐบาลสเปนสามารถลดการขาดดุลงบประมาณเหลือไม่เกิน 3% ของ GDP ออกไปอีก 1 ปี เป็นภายใน 2557

วิกฤตเศรษฐกิจ กรีซ ไซปรัส ไทย แตกต่างกันอย่างไร
            วิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก ประเทศไทยเปิดตลาดหุ้นในปี 2518 (1975) เปิดมาได้ 3 ปี ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้นในช่วงแรก ถึงปลายปี 2521 (1978) ก็พังทลายลงถึงปลายปี 2523 (1980)  ทางการได้ตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2528) มาบริหารจัดการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ที่รู้จักกันในชื่อ โครงการ 4 เมษายน 2527 ที่ล้มลง ทางการได้เข้าไปควบคุมกิจการ รวมระยะเวลาจากตลาดหุ้นพังทลายในปี 2521 ถึงปี 2528 เป็นเวลา 7 ปี และ มีหน้าที่หาทางป้องกันปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคตอีก 

          ผลกระทบที่ไทยต้องเตรียมพร้อมรับ

วิกฤตการณ์หนี้สาธารณะในยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อมโดยสามารถแบ่งเป็นผลต่อภาคการเงิน และภาคเศรษฐกิจจริง ดังนี้
1) ภาคการเงิน คาดว่าผลกระทบทางตรงจะมีไม่มาก เนื่องจากสถาบันการเงินไทยมีการลงทุนในตราสารของยุโรปค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 2 อีกทั้งคาดว่าส่วนใหญ่จะตั้งสำรองขาดทุนไว้แล้ว อย่างไรก็ดี ผลกระทบทางอ้อม จากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อม เพราะเมื่อพิจารณาจากวิกฤตครั้งก่อน (Sub-prime) จะพบว่ามีการไหลออกของเงินทุนเพื่อกลับไปปิดสภาพคล่อง โดยนักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อมีข่าวหรือมีสัญญาณว่าวิกฤติหนี้ในยุโรปจะทวีความรุนแรงขึ้น ก็อาจส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุนที่จะส่งผลต่อเนื่องให้สภาพคล่องในประเทศลดลง และกดค่าเงินบาทให้อ่อนลงตามแต่หากเมื่อสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คาด หรือมีการออกมาตรการเพิ่มสภาพคล่องของประเทศหลักเช่น การออก QE3 ของสหรัฐฯ เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการดังกล่าวก็จะไหลย้อนกลับมาที่ตลาดหุ้นเอเชียรวมทั้งไทย เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจยังแข็งแกร่งกว่า ซึ่งก็จะส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมาคึกคัก และดึงเงินบาทให้แข็งค่า ผลคือ แนวโน้มตลาดเงินตลาดทุนในระยะต่อไปก็จะผันผวน
2) ภาคเศรษฐกิจจริง ผลกระทบจะถูกส่งผ่านทางการค้าและการลงทุน โดยด้านการลงทุนผลกระทบทางตรงอาจมีไม่มาก เมื่อพิจารณาจากเงินลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยในสหภาพยุโรป และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเยอรมนีที่เศรษฐกิจยังแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากยุโรปมาไทย มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของเงินลงทุนรวม แต่เกือบร้อยละ 70 มาจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งฐานะทางเศรษฐกิจยังดีอยู่ สะท้อนจากอันดับความน่าเชื่อถือยังอยู่ในระดับสูงสุดที่ AAA ดังนั้น สิ่งที่น่าห่วงคือผลกระทบที่มีต่อการส่งออก เนื่องจากไทยพึ่งพิงการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 60โดยจากตัวเลขล่าสุดเดือนมิถุนายน 2555 ได้สะท้อนว่าการส่งออกได้ถูกกระทบจากวิกฤตหนี้ยุโรปแล้วโดยมูลค่าการส่งออกกลับมาหดตัวร้อยละ 4.2 (yoy) ที่มูลค่า 19,771 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกไปสหภาพยุโรปที่หดตัวลงถึงร้อยละ 18.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ในเดือนก่อน การส่งออกไปญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 2.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ในเดือนก่อน ส่วนการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอื่น ๆก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดยตลาด ASEAN สหรัฐฯ และจีน ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4, 3.1 และ 3.1 จากร้อยละ 13.4, 10.9 และ 22.3 ในเดือนก่อน ตามลำดับ และเมื่อรวมยอด 6 เดือน ไทยส่งออกได้ 112,265 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวลงร้อยละ 2.0 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวม 122,605 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 10.0 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลรวมถึง 10,340 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงเป็นประวัติการณ์ โดยตลาดสหภาพ
ยุโรป ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.8 ของตลาดส่งออกรวมของไทย เป็นตลาดที่หดตัวลงรุนแรงที่สุดถึง
ร้อยละ 12.6 รองลงมาเป็นญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 4.1 ส่วนตลาด ASEAN สหรัฐฯ และจีน ยังขยายตัวได้ แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนมาก คือ ขยายตัวเพียงร้อยละ 8.1, 3.4 และ 7.5 เทียบกับร้อยละ 22.1, 19.3 และ 23.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ภาพรวมการส่งออกตลอดทั้งปี 2555 นี้ จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ร้อยละ 15.0 เพราะหากจะทำให้ได้ตามเป้า ในช่วงครึ่งหลังของปี การส่งออกจะต้องขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 32.0 หรือมีมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนเกินกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยความเสี่ยงธุรกิจ บมจ.
ธนาคารกรุงไทย คาดว่าการส่งออกเฉลี่ยทั้งปีนี้ จะโตเพียงประมาณร้อยละ 5 – 8 ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การส่งออกในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 7.0 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 8.0 ดังนั้น นับเป็นความท้าทายอย่างมากของภาครัฐบาล ที่จะต้องกระตุ้นการส่งออกให้ขยายตัวได้ตามเป้า ท่ามกลางความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะซบเซามากขึ้น โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมาก เป็นสินค้าอันดับต้น ๆ ที่ส่งออกไปยุโรป และตลาดหลัก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องนุ่งห่ม และ แผงวงจรไฟฟ้า

แนวทางในการตั้งรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

1. รัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และดำเนินการลงทุนให้เป็นไปตามแผน โดยเฉพาะแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ที่ตั้งงบไว้ 2.3 ล้านล้านบาท ในระยะ 5 ปี ซึ่งจะช่วยพยุงให้เศรษฐกิจภายในเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะช่วยให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 0.5-1.0% หากรัฐบาลสามารถทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนจริง เฉลี่ยปีละ 400,000 ล้านบาท
2. รัฐบาลควรติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ SME ซึ่งอาจส่งความช่วยเหลือผ่าน EXIM Bank หรือสถาบันการเงินของรัฐ
3. ธปท. ควรดูแลสภาพคล่อง และอัตราแลกเปลี่ยน ที่มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น
4. สถาบันการเงินควรเตรียมความพร้อมเรื่องสภาพคล่องและฐานะเงินกองทุน ระวังความเสี่ยง
จาก Counterparty Risk และระมัดระวังในการชำระเงิน หรือ การให้วงเงินลูกค้าส่งออก-นำเข้า ที่มีธุรกรรมกับยุโรป ซึ่งคู่ค้าในยุโรปเริ่มมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องติดตามดูแลลูกค้าสินเชื่อในธุรกิจที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบมาก เพื่อป้องกันมิให้เกิดเป็น NPL เพิ่มขึ้น
5. ผู้ส่งออกควรกระจายความเสี่ยง โดยพยายามเพิ่มความหลากหลายของตลาดส่งออก และมุ่ง
ไปที่ตลาดที่ยังมีศักยภาพ เช่น อาเซียน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น และ
พยายามใช้สิทธิประโยชน์จากกรอบการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำไว้กับประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ปี 2536 (1993) ได้มีการนำระบบ Maintenance margin & Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น โดยเชื่อว่าระบบนี้จะทำให้สถาบันการเงินมีกำไรและมีความมั่นคงมากขึ้นแต่ปรากฏว่า ในระยะเวลาต่อมา สถาบันการเงินล้มทั้งระบบล้มเพราะผลจากการนำระบบ Maintenance margin & Force sell มาใช้ในตลาดหุ้นนั่นเอง ความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 จึงรุนแรงกว่าการเกิดวิกฤตครั้งแรกอย่างมากมาก ความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 รุนแรงอย่างเหลือเชื่อ
           ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าหนี้ของ 56 ไฟแนนซ์ที่ไปยึดมา ได้มีการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ขึ้นมาจัดการกับหนี้ 56 ไฟแนนซ์และสถาบันการเงินที่ไปยึดมา เป็นเรื่องที่โกลาหลที่สุด ความเสียหายของสถาบันการเงินดังกล่าวทุกวันนี้ก็ไม่สามารถไถ่ถอนจำนองออกมาได้ ทำให้ธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ดังกล่าวตกเป็นของต่างชาติ        เรื่องตรงนี้น่าสนใจ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน ตั้งขึ้นมา มีความเชื่อว่า (วิสัยทัศน์) ถ้าอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง จะทำให้สถาบันการเงินนั้นยืนมั่นคงอยู่ได้ จะทำให้ไม่ล้มลงเหมือนในอดีต แต่แล้วการเงินของประเทศก็ล้มลงทั้งระบบที่จริงความเสียหายไม่ได้เกิดกับเพียง 56 ไฟแนนซ์และสถาบันการเงินเหล่านี้เท่านั้น แต่มันล้มทั้งระบบ ไม่ว่าธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ รวมทั้งธนาคารกรุงไทย
จากวิกฤติดังกล่าวจึงขอแสดงความเห็นว่า
1.      อะไรคือต้นเหตุ ที่ทำให้สภาพคล่องเสียหายที่ทำให้การเงินของประเทศก็ล้มลงทั้งระบบ
2.      ทำไมรัฐบาลไม่ใส่ใจต่อการชำระหนี้ สนใจแต่จะกู้อย่างเดียว 
3.      ทำไมต้องให้ยุติบทบาทของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
4.        ถามว่า วิกฤตเศรษฐกิจ กรีซ ไซปรัส ไทย แตกต่างกันอย่างไร ประเทศไทยมีโอกาสจะเกิดวิกฤตแบบกรีซ และไซปรัส หรือไม่ ตอบว่า ไม่แตกต่างกัน ต้นเหตุการเกิดวิกฤตมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นแบบเดียวกัน ประเทศไทยเคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 2 ครั้ง        
สินทรัพย์ของประเทศใด จะต้องเป็นของคนประเทศนั้น หากตกเป็นของต่างชาติไปหมด
จะเรียกชื่อว่าเป็นประเทศนั้นได้อย่างไร และจะไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นประเทศด้วย เกิดวิกฤตที่ประเทศไหน ความเสียหายก็คล้ายกันทุกประการ ความเสียหายของตลาดเงินไทยรุนแรงมาก การจะปิดธนาคารธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเรื่องที่ลำบากมาก จะมีเงินที่ไหนไปจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากเงิน ก็ยังพอมีทางออกทางเดียว คือเอาหุ้นของธนาคารขนาดใหญ่ไปจำนองกับต่างชาติ ก็คงได้ราคาจำนองไม่สูง ก็พอได้เงินมาจ่ายคืนให้ผู้ฝากเงินได้ เห็นวิธีการจัดการเงินของผู้ฝากเงินของไซปรัสแล้ว ดูเหมือนมีวิสัยทัศน์และคุณธรรมเข้าท่ามากกว่าประเทศไทย ที่เขารับผิดชอบเงินฝากของประชาชนทุกเม็ด แต่สถาบันคุ้มครองเงินฝากของประเทศไทย มีการจำกัดวงเงินฝากในการคุ้มครอง การเกิดวิกฤตหลังตลาดหุ้นพังทลายในปี
2537 จนต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟในปี 2540 นั้น ทำให้ประเทศไทยหมดตัวไปแล้วเป็นรอบที่ 2 หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีก เป็นครั้งที่ 3 ก็จะเห็นวิธีเตรียมตัวรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ได้
เอกสารอ้างอิง
วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป (online): http://th.wikipedia.org/ สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป: ผลกระทบต่อไทยและนัยเชิงนโยบายมิถุนายน 2555
สรุปเสวนา ThaiPublica Forum ครั้งที่ 2 เรื่องวิกฤติหนี้อียู ผลกระทบและทางออกมิถุนายน 2555
Capital Economic “European Economic Update” July, 2012
posted on 27 Apr 2012 13:53 by chadiousburg  in talk-arab  directory Knowledge
Little Lee. (2554). Intro to Libya (3) : สแกนเศรษฐกิจลิเบีย ใต้ผืนทรายที่มิอาจประเมินค่าได้
      สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556.จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=698854
Wikipedia.  (2554).  2011 military intervention in Libya สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556. จาก  
      http://en.wikipedia.or/wiki/2011_military_intervention_in_Libya
Aljazeera.  (2554).  Europe's interests in Libya.  สืบค้น
      เมื่อ
 24 เมษายน 2556.  จาก  http://english.aljazeera.ne/news/europe/.html
Wikipedia.  (2554).  ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1973.  สืบค้น
      เมื่อ
 25 เมษายน 2556. 
Wikipedia.  (2554).  ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970.  25 เมษายน 2556. 
เทพบุตรจุดประกายฝัน.  (2554).  สงครามกลางเมืองลิเบีย: ศึกในร้อน ศึกนอกรุก. สืบค้น
       เมื่อ
 25 เมษายน 2556. จาก  http://www.oknation.net/blog/danyal/2011/10/02/entry-
Wikipedia.  (2554).  องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.  สืบค้นเมื่อ สืบค้น เมื่อ
      
 25 เมษายน 2556. จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
Wikipedia.  (2554).  Foreign relations of Libya. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556. จาก  http://en.wikipedia.org/wiki/Foreign relations of Libya
ประภัสสร์ เทพชาตรี.  (2554).  ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi (ตอนที่ 3).  สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556.  จากhttp://thepchatree.blogspot.com/2011/09/gaddafi-3.html               
อิศราวดี  ชำนาญกิจ.  (2552).  New World Order – การจัดระเบียบโลกใหม่ที่ผู้นำควรรู้.  สืบค้น
           เมื่อ
 25 เมษายน 2556.จาก http://leadership.exteen.com/20090420/new-world-order
ทิพย์รัตน์
.  (2552).  ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ.  สืบค้น
           เมื่อ
 25 เมษายน 2556.จากhttp://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=477.0
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์.  (2546).  ภาษาสงครามอิรัก .  สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2556จาก
            http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=623

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

การก่อการร้ายสากล


การก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร้พรมแดน
โดย วาสนา  รังสร้อย 
                    คำว่า การก่อการร้าย (อังกฤษ: Terrorism) เป็นคำที่ยังไม่มีการจำกัดความในกฎหมายอาญาที่มีผลผูกมัดตามกฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างสากล  เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองและอารมณ์โดยทั่วไปของการก่อการร้ายนั้นหมายถึงพฤติการณ์ที่รุนแรงซึ่งมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา  การเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการกระทำที่จงใจและไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องและกระทำโดยองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐใด ๆ
                        การก่อการร้ายในปัจจุบันนั้นไร้พรมแดน ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของการก่อการร้ายสากล แต่เป็นที่ตั้งของบริษัท หน่วยงานของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน
ซึ่งมีการดำเนินการทั้งพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวากลุ่มชาตินิยม กลุ่มศาสนา กลุ่มปฏิวัติ และรัฐบาล จึงมีความคิดเห็นพอสรุปเป็นประเด็นต่อไปนี้
ก.   ปัจจัยหรือเหตุผล ที่ผู้ก่อการร้ายสากลเลือกที่จะใช้ประเทศไทยเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
1.   เนื่องจากไทยมีปัจจัยเกื้อกูลหลายประการ เช่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การบังคับใช้กฎหมาย ... กลุ่มผู้ก่อการร้ายสากลซึ่งเป็นที่จับตาของประเทศต่างๆ ในขณะนี้คือ กลุ่ม Al Qaida กลุ่ม Jemaah ... policy) อย่างน้อยที่สุดเราก็ไม่พร้อมรับความเสี่ยงในการสูญเสีย   ถ้ามีทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย ...
2.   ผู้ก่อการร้ายจะกระทำต่อเป้าหมายด้วยวิธีการที่ตนต้องการโดยไม่คำนึงต่อความปลอดภัยของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นชนชาติใดและทรัพย์สินเป็นของชาติใด
3.      การใช้อำนาจระหว่างผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศที่เป็นรัฐหรือไม่ใช่รัฐในระดับโลก
4.   2546 - 2549 เป็น จุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับจุดเน้นการรักษาความมั่นคงของชาติที่ให้ความสำคัญเพิ่ม  มีการเลือกปฏิบัติและดำเนินการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดด้วยความอคติ และ ความไม่รู้
5.   เป็นปัจจัยยึดโยงเพื่อทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน มีโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคง ...กรณีของประเทศไทยแม้ยังไม่ตกเป็นเป้าหมายโดยตรงของกลุ่มก่อการร้ายสากล
6.   ปัจจัยปัญหาพื้นฐานที่ การก่อการร้ายสากล ของ มหาอำนาจ โดยพุ่งเป้าหมายไปที่มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.   เนื่องจากการก่อการร้ายในปัจจุบันนั้นไร้พรมแดนมีกองกำลังกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และมีอำนาจตัดสินใจปฏิบัติการโดยอิสระมากขึ้น  การที่ประเทศไทยเป็นประเทศเปิดเสรี ทำให้ผู้ก่อการร้ายสากลได้ใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่าน และแหล่งพักพิงชั่วคราวและแหล่งจัดหาสิ่งสนับสนุนปฏิบัติการ
8.   ประเทศไทยมีปัจจัยเกื้อกูล เช่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การบังคับใช้กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยที่ย่อหย่อน ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
9.      ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
ข.        ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ
1.   ผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์ของชาติ คือพันธกรณีระหว่างประเทศ  ที่เกิดจากการก่อการร้ายสากลที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 โดยสมาชิกขบวนการก่อการร้ายปาเลสไตน์
2.      ผลกระทบทางด้านตลาดการส่งออกและการท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ
3.   สะเทือนรัฐบาล ภาพลักษณ์ติดลบ กระทบความเชื่อมั่น  จากการจับเครือข่ายก่อการร้ายสากลได้ในเมืองไทย ผลดีตกอยู่กับชาติใหญ่ไทยเราต้องมาปัดล้างเช็ดถู คอยแก้ไขปัญหา
4.   ผลกระทบวิกฤตชายแดนใต้ จากท้องถิ่นสู่สากล
5.   ปัญหาเฉพาะของจังหวัดชายแดนภาคใต้  เช่น นโยบาย 66/23 ไม่ประสบผลสำเร็จ ขบวนการ BRN เน้นกองโจรในเมืองแทนกองโจรในป่า  อิทธิพลจากต่างประเทศในเรื่องสงครามการก่อการร้าย ฯลฯ เป็นต้น
ค.        วิธีการหรือแนวทางในการป้องกันการก่อการร้ายสากล
            1. ประเทศไทยควรมีนโยบายเพิ่มความเข้มงวดในกาเข้าออกและ
จัดระบบต่อต้านการก่อการร้ายสากลขึ้นอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจน
             2. อาเซียนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาการก่อการร้ายสากล อาชญากรรมข้ามชาติและปัญหายาเสพติดร่วมกัน โดยอาเซียนประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ และมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในอาเซียนเองและกับประเทศอื่นเพื่อต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติต่อต้าน  การระดมเงินทุนของกลุ่มเหล่านี้ และฝึกอบรมและส่งเสริมความตระหนักรู้ในเรืองการบังคับใช้กฎหมาย  การให้ความรู้เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด รวมถึงการรักษาและฟื้นฟูทั้งยังมีความร่วมมือกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ
              
3. การแก้ปัญหาการก่อการร้ายจึงต้องมุ่งไปที่สาเหตุ และถ้าเป็นกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศที่เป็นฝักเป็นฝ่ายก็คงต้องมีการเจรจาระดับระหว่างประเทศและนานาชาติ โดยความร่วมมือขององค์กรต่างๆ
            4. การสร้างข้อตกลงกับกลุ่มประเทศต่างๆ โดยมีมาตรการร่วมกันที่จะป้องกันและปราบปรามอย่างรุนแรงในลักษณะตาต่อตา ฟันต่อฟัน
            5.
การผสมผสานระหว่างการป้องปรามและการเจรจาหาข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายพอใจน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

อ้างอิง
Http://show.voicetv.co.th/hot-topic/30966.html สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4 /56
http://www.posttoday.com  สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
http://breakingnews.nationchannel.com/r สืบค้นเมื่อวันที่ 14 Jan 2009
http://www.posttoday.com สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2555
http://www.thanonline.com สืบค้นเมื่อวันที่ 05 Dec 2012
http://www.posttoday.com สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556
http://www.khaosod.co.th  สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556 
http://www.thaiarmedforce.com สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4 /56
http://www.tccc.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4 /56
http://www.manager.co.th สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4 /56