ศูนย์ข้อมูลอาเซียนโรงเรียนวัดลานบุญ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน


              จากการที่สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปกำลังผจญกับปัญหาเศรษฐกิจทำให้ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Asean)บทบาทในเวทีเศรษฐกิจโลกมากขึ้นและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(Asean community)ในปี พ..2558 จะยิ่งทำให้บทบาทของอาเซียนในเวทีโลกมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น นิสิตในฐานะที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จึงขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ประชาคมอาเซียน(Asean Community) คืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไร
           ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง                           
                      สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามใน ปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)  โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
                    1. นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
                    2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
                    3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
                    4. นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
                    5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
                    หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
                    - บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม  2527
                    - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม  2538
                    - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม  2540
                    - สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23   กรกฎาคม  2540
                    - ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
                     ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
                    1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
                    2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
                    3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการ
                         บริหาร

                    4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
                    5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร
                         และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต

                    6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
                    สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและ
สีน้ำเงิน รวงข้าว
10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
                    สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
                    สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัต
                    สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
                    สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

  สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ

                     สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุด
ชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม ปฏิญญากรุงเทพที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิก แห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอส แห่งฟิลิปปินส์,
อับดุล ราซัค แห่งมาเลเซีย
, เอส. ราชารัตนัม แห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์ แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร
                     ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน
มีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

 การขยายตัว

                        ในปี พ.ศ. 2519  ปาปัวนิวกินี ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว
                ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว
                            ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวม แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้
                   ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวย
ต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ.
2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือ
ที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
                           นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียน
ยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่
15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่
28 มีนาคม
พ.ศ.
2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาคหลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ
ในอาเซียน ฉบับที่สอง (อังกฤษ:
Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนาม
ในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มหาเธร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.
2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคตในปี พ.ศ. 2549  กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพหุ้นส่วนการอภิปรายให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์
                    ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียน
ตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับ
ในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2553 นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48  ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563 ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์ตะวันออกวางแผนจะยื่นจดหมาย
ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออก
อย่างอบอุ่น
















ตามกฎบัตรอาเซียน(Asean Charter)ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลักอะไรบ้างและแต่ละเสาหลักมีรายละเอียดที่สำคัญอย่างไร

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก

                                          1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการ  เมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่
                    1.1 สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวคิด และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง   ของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมืองและความมั่นคง
                        1.2 ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์

                        1.3 ให้อาเซียนมีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยอาเซียนมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาค และจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
                       2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)  ท่ามกลางบริบท
ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการ รวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ให้จัดตั้ง
ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนภายในปี 2558  มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย

                                     2.1  มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน
               
                     2.2  มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี
               
                    2.3  ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้ เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน    
                                    2.4  ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหาภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
                 3. ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมี แผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
                                    3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
                       3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
                        3.3  สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
                                     3.4   ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
                        3.5    การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)
                                    3.6    การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)-


ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Communityหรือ AEC) คือ การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน นั้น การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน หมายความว่าอย่างไรและมีหลักการอย่างไรบ้าง 
                     สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธ์สัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สำคัญดังนี้
                     1.  การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
                     2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
                     3.  การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ
                     4.  การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยมีรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้
           1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
               การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว เร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขาที่มีความสำคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล แรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบันในอาเซียน  การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
                  (1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
                  (2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
                  (3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
                 (4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีขึ้น
                 (5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
                     ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญลำดับแรกอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทางอากาศ สุขภาพ e-ASEAN ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ อุปทาน โลก โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของอาเซียนได้แก่ยกเลิกภาษีศุลกากรให้หมดไป ทยอยยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนธุรกรรม เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนได้อย่างเสรีในสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น
2. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
                    เป้าหมายสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันมี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) นโยบายการแข่งขัน (2) การคุ้มครองผู้บริโภค (3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (
IPR) (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (5) มาตรการด้านภาษี (6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนำกฎหมายและนโยบายการแข่งขันมาบังคับใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาคธุรกิจที่เป็นธรรม นำไปสู่การเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
                     การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (
SME) (2) ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในระดับ SME และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้สามารถดาเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันของอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกอาเซียนอยู่ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันและมีเครือข่ายกับโลกสูง โดยมีตลาดที่พึ่งพากันและอุตสาหกรรมระดับโลก ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนมีพลวัตรเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ผลิตของโลก รวมทั้งทำให้ตลาดภายในยังคงรักษาความน่าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจึงต้องมองออกไปนอกภูมิภาคอาเซียนบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยดำเนิน 2 มาตรการคือ (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซียน (2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานโลก


















หลัก  SWOT Analysis มาวิเคราะห์ความพร้อมดังนี้
1.     ความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นตลาดเดียวและฐานผลิตร่วมกัน
    Strength
                            - ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี
                            - เป็นฐานการส่งออกในภูมิภาค
                           - ค่าจ้างแรงงานต่ำ
                           - มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
                            - มี FDI อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
                           - มีระบบสถาบันการเงินที่ดี
                          - มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์
Weakness
                -ความไม่แน่นอนทางการเมือง
                -สถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ
                -ข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือครองสินทรัพย์ของ NR
                -ขาดแรงงานที่มีทักษะหลายสาขา ทั้งด้านอาชีวะและภาษา
                -อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจโลก เพราะพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก
Opportunity
                -ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
                -การทำข้อตกลงทางการค้า และการลงทุนกับประเทศอื่นๆ
                -มาตรการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ
                -นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
                -อัตราการใช้กำลังการผลิตขณะนี้อยู่ในระดับสูง


           Threat
                          -  การแข่งขันจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำมาก เช่น จีน และเวียดนาม
                         -  ประเทศอินเดียมีแรงงานคุณภาพ โดยเฉพาะด้าน Computer Programming และชำนาญทางภาษา
                        -  ค่าเงินมีแนวโน้มผันผวน
                         -  ความไม่สมดุลของโลก

                 จาก
จุดแข็งของที่ได้กล่าวมา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอื่นของ AEC แล้ว   เห็นว่า
ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งของภาครัฐ  ภาคเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งได้เปรียบในหลายประเด็น
จุดแข็งเหล่านี้ทำให้ไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของ
AEC ต่อไปในอนาคต  แต่ประเทศไทยยังขาดต้นทุนในด้านทุนมนุษย์ที่เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนในความเป็นจุดแข็งของประเทศ  ถ้าหากว่ามนุษย์ได้รับการพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจ 
มีความตระหนัก ถึงความสำคัญในผลกระทบ และเห็นความจำเป็นในการเรียนรู้ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังคำกล่าวที่ว่า ถ้ารู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมเติมเต็มในส่วนที่เป็นจุดอ่อนให้เกิดเป็นโอกาส
ในการที่จะสามารถปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจาก
AEC ได้ทันเวลา และเอื้อต่อการติดต่อค้าขาย ลงทุน หรือท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการวางแผนยุทธศาสตร์ในการกำหนดทิศทางและแนวทาง
ในการพัฒนาในอนาคตมีผลสำเร็จมากที่สุด ทั้งในแง่ของเนื้อหาและกระบวนการ
                 2  ความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียนพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
                 ในการเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียนของประเทศไทยเรามีความพร้อม ทุกด้านทั้งของภาครัฐ  ภาคเอกชนและภาคประชาชน และถ้าเรายอมรับชนต่างด้าวชาวพม่าเหล่านี้เป็นพลเมืองอย่างถูกต้อง ก็จะลดช่องว่างการลักลอบเข้าอย่างผิดกฏหมาย และนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมมากมาย ซึ่งปัจจุบันนี้มีการเดินทางเข้า – ออก มาทำมาหากินเป็นแรงงานอยู่ในประเทศไทยนับล้านคน หากมองในมุมความมั่นคงของชาติถือว่าเป็นเรื่องล่อแหลมมากเพราะในจำนวนแรงงานเหล่านี้ มีไม่น้อยที่ไม่สามารถระบุสัญชาติ หรือ
อัตลักษณ์ส่วนบุคคลได้ ทำให้คนกลุ่มนี้หากก่ออาชญากรรมแล้วการจะติดตามจับกุมมาดำเนินคดีจะเป็น
ไปได้ยากมาก เนื่องจากไม่มีเอกสารใดๆ ของทางการที่บันทึกประวัติไว้  ปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เศรษฐกิจไทยดำรงอยู่และเติบโตได้นั้นแรงงานต่างด้าวชาวพม่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง นอกจากนี้ประเด็นเล็กน้อย ๆที่ยังไม่ทันคำนึงถึงที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและสวัสดิภาพชีวิตของประชาชนไม่ใช่น้อย คือ คนต่างด้าวลักลอบเข้ามาขับแท็กซี่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และแน่นอนว่าเมื่อมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(
AEC) การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยอาจเพิ่มมากขึ้นไม่เฉพาะแต่พม่าแต่จะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับประเทศไทยอีกฟากหนึ่งที่จะเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น
ภาษา : โอกาสและความมั่นคงของชาติ
                      เมื่อพูดถึงประเด็นด้านโอกาสของไทยในพม่า คุณนฤมลกล่าวว่า แม้ชาวพม่าจะซื้อสินค้าส่วนใหญ่โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์จากจีน แต่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแล้วชาวพม่านิยมข้ามฝั่งมาซื้อของจากประเทศไทยมากกว่า  “ดิฉันเคยคุยกับบริษัทผลิตนมยี่ห้อหนึ่งของบ้านเรา เขาบอกส่งไปขายพม่าได้ปีละเป็นพันล้านบาท ไม่เพียงเท่านั้น คนพม่ายังฟังวิทยุไทย ดูทีวีช่องไทยผ่านจานดาวเทียม พวกเขานิยมสินค้าทั่วๆ ไปจากไทยมาก ยกเว้นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์พวกเครื่องใช้ไฟฟ้าเพราะทุกวันนี้ระบบไฟฟ้าบ้านเขายังไม่ดีนักสินค้าไทยเราคุณภาพดีกว่าก็จริงแต่ราคาก็แพงกว่าด้วย พวกเขาจึงคิดว่าซื้อไปใช้คงไม่คุ้ม เลยซื้อของจีนที่ราคาถูกน่าจะเหมาะกว่า    ดูเหมือนจะเป็นโอกาส เพราะนอกจากการเข้าไปลงทุนแล้วแรงงานไทยประเภทช่างฝีมือทั้งหลายได้รับคำชมจาก ผู้ประกอบการในต่างประเทศว่ามีทักษะฝีมือแรงงานที่ดีมากจากผลงานที่ไปมาแล้วทั้งญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะจากผลสำรวจจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าปัจจุบันคนไทยมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในลำดับที่ 43 ของเอเชีย และรายงานจากสถาบัน International Institute for Management Development (IMD) องค์กรจัดอันดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศต่างๆ เมื่อปี พ.ศ.2554 (ค.ศ.2011)
พบว่าคนไทยมีทักษะภาษาอังกฤษอยู่อันดับที่ 5 ของอาเซียน เป็นรองทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
                     แต่ที่น่าตกใจมากกว่านั้น จากคำบอกเล่าของคนไทยที่เคยทำงานร่วมกับชาวพม่ามาเป็นเวลานาน พบว่าหากชาวพม่าที่มาทำงานในไทยนั้นมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเขตเมืองใหญ่ๆ เช่น นครย่างกุ้ง (เมืองหลวงเก่าของพม่าก่อนจะย้ายเมืองหลวงมาที่เนปิดอว์ ในปัจจุบัน) จะมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่คล่องแคล่วและชัดถ้อยชัดคำมากกว่าคนไทยอยู่มากทีเดียวดังนั้นแหล่งข่าวคนดังกล่าวจึงรู้สึกไม่สบายใจและเป็นห่วงคนไทยว่าหากเปิดเสรีอาเซียนแล้วเราจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้เพราะคนไทยยังอ่อนด้อยทักษะภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลในปัจจุบันอยู่มาก
                       นอกจากนี้ การที่พม่าติดต่อกับจีนมากกว่าประเทศอื่นทำให้คนพม่าจำนวนไม่น้อยใช้ภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งไทยก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาบุคลากรที่ใช้ภาษาจีนได้ดีให้ได้เช่นกันเนื่องจากปัจจุบันนี้จีนกำลังเป็นประเทศที่มาแรงมากในด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จนมีใครหลายคนคาดการณ์กันว่าภาษาจีนอาจจะกลายเป็นภาษาหลักของโลกแทนภาษาอังกฤษหากวันใดวันหนึ่งจีนสามารถแซงสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็นผู้นำโลกได้สำเร็จ
นั่นคือมุมมองทางเศรษฐกิจและการแข่งขัน แต่ในมุมมองของฝ่ายความมั่นคงแล้ว นายสุรชัย นิระ ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวเสริมอีกว่า ไม่เพียงแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ภาษาของเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เหมือนภาษิตโบราณที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ซึ่งปัจจุบันเราพบว่าคนพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยนั้นจำนวนไม่น้อยที่รู้ภาษาไทยในระดับอ่านออกเขียนได้ ในทางกลับกันมีคนไทยน้อยมากที่รู้ภาษาพม่าในระดับเดียวกัน ทำให้นี่เป็นจุดบอดด้านความมั่นคงที่น่าเป็นห่วงมาก
                         “ตรงนี้มีเรื่องน่าสนใจคือนักศึกษาจากไทยไปเรียนที่อินโดนีเซีย อยู่ที่นั่นแค่ครึ่งปีใช้ภาษาของที่นั่นได้คล่องแล้ว ดังนั้นถ้าคนไทยต้องทำงานกับชาวพม่าก็น่าจะเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของเขา
ซึ่งปัจจุบันในไทยก็มีคนพม่า มีชุมชนพม่ามากมาย คนไทยน่าจะเปิดใจให้กว้างเพื่อเรียนรู้ เพราะรู้ภาษาก็คือรู้เขารู้เรา ก็จะทำให้เกิดการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันด้วย
คุณสุรชัยกล่าวทิ้งท้าย
                        อีกไม่นานเราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่หลายๆ อย่างของชาติทั้ง
10 ในกลุ่ม จะเชื่อมโยง
ถึงกันอย่างไร้พรมแดน ซึ่งวันนี้หลายชาติเริ่มเตรียมตัวกันแล้วว่าจะสร้างจุดเด่นลบจุดด้อยของตนอย่างไร
จึงจะมีศักยภาพในการแข่งขันได้ไม่เสียเปรียบชาติอื่น และไม่ใช่แค่อาเซียน
10 ชาติเท่านั้น มหาอำนาจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และกลุ่มสหภาพยุโรป ก็กำลังจ้องมองการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อยู่อย่างไม่กะพริบตา
                        แล้วเราคนไทย....พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้แล้วหรือยัง
?
         3 ความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พร้อมเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมของภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน
                  ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) สังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทาง เน้นการส่งเสริมด้านต่างๆ เช่น
                   (1) การพัฒนาสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกลุ่มต่างๆ ในสังคม
                   (2) การพัฒนาการฝึกอบรม พัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                   (3) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
                   (4) จัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
                   (5) ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค
 ประชาคมอาเซียน เป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของประเทศไทย ให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มอานาจในการต่อรอง ขยายตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 590 ล้านคน
           ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
                    สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้าทางความคิดและค่านิยม และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประชาคมอาเซียนร่วมกัน
                      ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC )ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข
ทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค
(Medical Hub)  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงานไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน โดยไทยมีบทบาทนาในอาเซียนร่วมกับประเทศอื่นที่มีศักยภาพ
       
  บทสรุปและข้อเสนอแนะ
                         หน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ได้แก่ รัฐบาล ราชการส่วนกลาง กระทรวง/กรม กลุ่มจังหวัด/จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรม หอการค้าไทยสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สมาคมผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษาทุกระดับ องค์กรพัฒนาเอกชน สมาคม มูลนิธิ องค์กรอาสาสมัครต่างๆ สภาชุมชน กรรมการหมู่บ้าน ประชาคมหมู่บ้าน ฯลฯ จะต้องร่วมมือกันในการแปลงแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนดังกล่าว ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมพอประมาณ” “มีเหตุผล” “มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีความรู้ คู่คุณธรรม ตามคาขวัญ
ของประชาคมอาเซียนที่ว่า
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคมหรือ “One Vision, OneIdentity, One Community”








         การเป็นตลาดเดียวกันและฐานผลิตร่วมกันจะมีผลดีและผลเสียต่อประเทศไทยอย่างไร
                  นับจากนี้ไป ธุรกิจ SMEs ไทยอาจเหลือเวลาอีกไม่มากนักในการเตรียมตัวทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ รองรับการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)” ในปี 2558
ซึ่ง AEC ก็คือประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ที่ได้มีการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในวงกว้างขึ้น
จากเดิมที่เน้นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ อาฟตา (
AFTA)
ด้านเดียว แต่ด้วย ภาวการณ์ แข่งขันและกระแสการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ  ที่รุนแรงขึ้น  ทำให้ประเทศอาเซียนได้พยายามสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค  อันจะช่วยเพิ่ม บทบาทและอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลกมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ
AEC ขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงการเปิดเสรีการค้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดเสรีการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น อันจะเอื้อให้ประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศกลายเป็น ตลาดและฐานการผลิตเดียวนั่นคือ ในการก้าวสู่ AEC ธุรกิจ SMEs ไทยก็มีโอกาสที่จะก้าวออกไปขยายการค้าการบริการและการลงทุนในตลาดอาเซียนได้เสรียิ่งขึ้นภายใต้ข้อจำกัดและอุปสรรคที่ลดลง แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจ SMEs ไทยที่มุ่งเน้นทำธุรกิจภายในประเทศเป็นหลัก ก็อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งจากคู่แข่งในประเทศที่พยายามรักษาส่วนแบ่ง
ในตลาด และยังต้องเผชิญคู่แข่งจากธุรกิจชาติอาเซียนอื่นๆที่มีแนวโน้มเข้ามาแข่งขันในตลาดภายในประเทศมากขึ้นด้วย ดังนั้น ธุรกิจ
SMEs ไทยควรที่จะศึกษาและทำความรู้จัก AEC ให้เข้าใจและทราบถึงโอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผน/ปรับกลยุทธ์รองรับและมองหาจุดยืนของธุรกิจเมื่อไทยก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี 2558
AEC กับเป้าหมายการเป็น ตลาดและฐานการผลิตเดียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนให้เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งเป้าจะก้าวสู่การเป็น AEC ภายในปี 2558 อันจะทำให้เกิดตลาดเดียวที่มีขนาดใหญ่ด้วยประชากรราว 580 ล้านคน และมีขนาดเศรษฐกิจเป็นมูลค่ารวมกันถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่า 5 เท่าของขนาดเศรษฐกิจไทย) ทั้งนี้ เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวนับเป็นเป้าหมายหลักของ AEC ที่มีกลไกขับเคลื่อนชัดเจน 5 ด้าน คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี การเคลื่อนย้ายบริการเสรี การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี การเปิดเสรีการลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
ที่เสรียิ่งขึ้น ซึ่งกลไกแต่ละด้านมีนัยทั้งเป็นโอกาสและผลกระทบต่อธุรกิจ
SMEs ไทย โดยสังเขปดังนี้
-             กลไกการเปิดเสรี นัยต่อธุรกิจ SMEs ไทยการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรี ก็คือ การเปิดเสรีการค้าสินค้าระหว่างประเทศอาเซียน ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา โดยมุ่งที่จะขจัดอุปสรรคทางภาษีและที่มิใช่ภาษี
-             การขจัดอุปสรรคทางภาษี อาเซียนได้ทยอยปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันมาตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั่งเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 (ยกเว้น ประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศคือ สปป.ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ที่จะลดเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558)
-             การขจัดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี อาทิ การยกเลิกระบบโควตา และเงื่อนไขมาตรฐานสินค้าที่ไม่จำเป็น
การเปิดเสรีการค้าอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา นับว่ามีบทบาทสำคัญที่เอื้อให้การส่งออกสินค้าของ SMEs ไทยไปอาเซียนเพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของ SMEs ไทย ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 4 แสนล้านบาท หรือสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งหมดของ SMEs ไทย ในปี 2553 
-             โอกาส ส่งออกไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น: ภาษีนำเข้าในกรอบอาเซียนที่ลดลง ช่วยสร้างความได้เปรียบด้านราคาของสินค้าไทยเทียบกับสินค้านอกกลุ่มอาเซียน ทำให้มีส่วนเอื้อให้ SMEs ไทยสามารถขยายการส่งออกสินค้าในตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้น
-             ต้นทุนด้านภาษีนำเข้าต่ำลง: ผู้ประกอบการมีต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากประเทศอาเซียนด้วยกันต่ำลง ซึ่งช่วยเพิ่มส่วนต่างกำไรแก่ธุรกิจ SMEs ไทย
-             ช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดหาวัตถุดิบ: ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพเหมาะกับความต้องการ และเติมเต็มห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติจากกลุ่มประเทศ CLMV การนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมขั้นกลางและสินค้าทุนจากเวียดนาม รวมถึงการนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นต้น
ผลกระทบ  
-             สินค้าส่งออกของ SMEs ไทยอาจเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้นในตลาดประเทศที่ 3 จากคู่แข่งในอาเซียนที่สามารถผลิตสินค้าได้คล้ายคลึงกับสินค้าไทย อาทิ สินค้าข้าวจากเวียดนาม สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากมาเลเซีย เป็นต้น
-             สินค้าชาติอาเซียนอื่นมีแนวโน้มเข้ามาตีตลาดภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
-             การเคลื่อนย้ายบริการโดยเสรี การเปิดเสรีสาขาบริการอาเซียนนั้น จะครอบคลุมการลดข้อจำกัดการเข้าถึงบริการในรูปแบบต่างๆ และการขยายเพดานสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจบริการเป็นสูงสุด 70% โดยได้มีการกำหนดสาขาบริการเร่งรัดการเปิดเสรีไว้ 4 สาขา คือ สาขาการขนส่งทางอากาศ สาขา e-ASEAN (บริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม) สาขาท่องเที่ยว และสาขาสุขภาพ ซึ่งมีเป้าหมายเปิดเสรีภายในปี 2553 นอกจากนี้ สาขาบริการที่มีเป้าหมายจะเปิดเสรีถัดไปคือ สาขาโลจิสติกส์ ภายในปี 2556 และสาขาบริการอื่นๆมีเป้าหมายจะเปิดเสรีภายในปี 2558
-             การเปิดเสรีภาคบริการในทางปฏิบัติ พบว่าหลายประเทศยังคงมีข้อจำกัดในการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายของอาเซียน โดยเฉพาะด้านกฎระเบียบและกฎหมายภายในประเทศ ทำให้ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรสำหรับไทย ได้มีข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่7 โดยให้ต่างชาติสามารถให้บริการข้ามพรมแดนมายังไทยได้และอนุญาตให้คนไทยเดินทางไปใช้บริการในต่างประเทศได้ ขณะที่ไทยยังจำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติในธุรกิจบริการไว้ไม่เกิน 49%
-             โอกาสสาขาท่องเที่ยวและสุขภาพของ SMEs ไทยมีโอกาสสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวอาเซียนที่เดินทางเข้ามาในไทย: ประเทศไทยนับว่ามีจุดแข็งโดดเด่นในด้านความหลากหลายและความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงคนไทยเองก็มีความเป็นมิตรไมตรีและยินดีให้บริการ (Service Mind) ที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างมาก นอกจากนี้ บริการด้านสุขภาพทั้งสาขาบริการทางการแพทย์ และบริการสุขภาพอื่นๆ เช่น นวดแผนไทย สปา การดูแล ผู้สูงอายุ และบริการด้านความงาม ก็ได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งค่าบริการก็ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซียนอย่างเช่นสิงคโปร์
-             มีโอกาสขยายพันธมิตรทางธุรกิจกับต่างชาติมากขึ้น: ธุรกิจ SMEs ไทยซึ่งส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านเงินทุนและการให้บริการที่ครบวงจร อาจได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีในแง่ของการจับมือทางธุรกิจกับพันธมิตรต่างชาติที่มีความพร้อมในปัจจัยดังกล่าว ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพการให้บริการและเพิ่มโอกาสการขยายกลุ่มลูกค้าตามมาได้
-             ผลกระทบ SMEs ไทยมีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันจากผู้ให้บริการต่างชาติมากขึ้น: เมื่อมีการเปิดเสรีภาคบริการ ผู้ให้บริการต่างชาติซึ่งมีความพร้อมทั้งเงินทุน Knowhow อาจทยอยเข้ามา ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่มีจุดแข็งด้านเงินทุน การจัดการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า เนื่องจากธุรกิจ SMEs ไทยส่วนใหญ่มีเงินทุนค่อนข้างจำกัด และยังขาดความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่และการบริหารจัดการที่เป็นระบบ อาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น
-             SMEs ในภาคบริการของไทยอาจถูกแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากสิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น: ปัจจุบันสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นชาติอาเซียนที่เข้ามาลงทุนในไทยสูงสุด 2 อันดับแรก โดยส่วนใหญ่ก็เป็นการลงทุนในภาคบริการ นอกจากนี้สาขาบริการเป็นสาขาที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสาขา e-ASEAN และสาขาโลจิสติกส์
-             การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือโดยเสรี การเปิดเสรีด้านแรงงานฝีมือ จะมีลักษณะค่อนข้างต่างจากการเปิดเสรีด้านอื่น คือ เป็นลักษณะของการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRA) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อรับรองคุณสมบัติแรงงานวิชาชีพให้สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยยังคงต้องปฏิบัติตามระเบียบภายในประเทศนั้นๆ เช่น การสอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ในไทยจะต้องสอบเป็นภาษาไทยด้วย เป็นต้น
                  ปัจจุบันอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้มีการลงนาม MRAs วิชาชีพแล้วรวม 7 ฉบับคือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี - โอกาส
-             ธุรกิจ SMEs ไทยมีโอกาสจ้างแรงงานต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามต้องการได้สะดวกขึ้น: แรงงานต่างชาติในบางวิชาชีพอาจมีคุณสมบัติรองรับความต้องการของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-              แรงงานวิชาชีพไทยอาจได้รับแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนาคุณภาพแรงงานและมาตรฐานมากยิ่งขึ้น: การเปิดเสรีแรงงานย่อมเอื้อให้มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นแรงผลักดันให้ตลาดแรงงานภายในประเทศเร่งปรับตัวและพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการจ้างงานที่ทั้งธุรกิจในประเทศและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย ต้องการแย่งชิงแรงงานคุณภาพไปร่วมงานด้วย
ผลกระทบ
-             การเปิดเสรีแรงงานฝีมืออาจทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศที่ให้ค่าตอบแทนต่ำไปยังประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า: การไหลเข้า-ออกแรงงานจำนวนมากอาจส่งผลให้ตลาดแรงงานในประเทศมีความไม่แน่นอนและอาจเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือในประเทศค่าตอบแทนของแรงงานไทยยังต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียได้ ซึ่งอาจกระทบต่อไปยังภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศได้
-             การแข่งขันของตลาดแรงงานในประเทศจะมีทวีความเข้มข้นมากขึ้น: การไหลเข้าของแรงงานต่างชาติที่เพิ่มขึ้น จะยิ่งช่วงชิงตำแหน่งงานไปจากแรงงานไทยมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะแรงงานไทยที่เสียเปรียบในด้านทักษะภาษาอังกฤษ
-                   การเปิดเสรีการลงทุน โดยหลักการจะทยอยลดข้อจำกัดในการลงทุนลงเรื่อยๆในระยะ 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงปี 2551-2553 ช่วงปี 2554-2556 และช่วงปี 2557-2558 สำหรับสาขาที่มีการเจรจาเปิดเสรีการลงทุนจะครอบคลุมทุกสาขาการผลิต อย่างไรก็ดี ไทยได้ขอสงวนการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาเหมืองแร่ รวมถึงสาขาตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เช่น การทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทำป่าไม้จากป่าธรรมชาติ และทำประมงในน่านน้ำไทย เป็นต้น ในปี 2553 ไทยผูกพันที่จะเปิดเสรีการลงทุน 4 สาขา คือ การผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้จากป่าปลูก และการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช โดยมีเงื่อนไขไม่ให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นข้างมาก หากต้องการถือหุ้นเกิน 50% จะต้องขออนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางผ่อนปรนเงื่อนไขใน 4 สาขาดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปในตามหลักการเปิดเสรีมากขึ้น
โอกาส
-                   เอื้อโอกาสการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเองเพิ่มขึ้น: ธุรกิจ SMEs ไทยอาจมีโอกาสขยายการลงทุนไปประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับ SMEs ไทยหลายสาขา โดยเฉพาะสาขาเกษตรและเกษตรแปรรูป รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงอุปกรณ์และชิ้นส่วนจักรกลทางการเกษตร ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ในสาขาดังกล่าวมีศักยภาพที่แข็งแกร่ง

ผลกระทบ
-                    ภาวะการแข่งขันจากธุรกิจต่างชาติรุนแรงขึ้น: การเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียนน่าจะมีส่วนดึงดูดให้นักลงทุนจากชาติอาเซียนขยายการลงทุนภายในอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากจะได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนด้วย ทำให้สภาวะการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ไทยกับธุรกิจต่างชาติมีแนวโน้มเข้มข้นและชัดเจนขึ้นในระยะข้างหน้า
-                   การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น เป้าหมายเบื้องต้นคือ การเร่งพัฒนาตลาดทุนร่วมกันจนนำไปสู่การรวมตลาดทุนในอาเซียนในอนาคต ซึ่งในหลักการนั้น ประเทศอาเซียนได้ยินยอมให้มีการผ่อนคลายข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์ของชาติอาเซียน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้น การไหลเข้าออกของเงินทุนโดยเสรีอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะตลาดทุนภายในของแต่ละประเทศได้ ดังนั้น การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีอาจต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาและวางหลักเกณฑ์การดำเนินการที่รัดกุมเพียงพอ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ความคืบหน้าในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก
       โอกาส:
-                   เพิ่มโอกาสในการระดมทุนของธุรกิจเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลกระทบ
-                   การเคลื่อนย้ายเงินทุนอาจมีผลให้ค่าเงินเปลี่ยนแปลงผันผวนได้ง่าย ผู้ประกอบการ SMES จึงควรมีการพัฒนาการจัดการต้นทุนและบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินธุรกิจในอนาคตท่ามกลางการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ








ในช่วงที่ผ่านมาประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงกันมากเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนก็คือ “ประชาคมควรมีเงินตราสกุลกลางหรือไม่” เพราะเหตุใด
                จากข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกของอาเซียนต่างก็มีสกุลเงินของตนเอง  แต่เป็นสกุลเงินเล็กๆ ที่ไม่มีบทบาทอิทธิพลในทางสากล และยากที่จะมีประเทศใดยอมให้สกุลเงินของอีกประเทศหนึ่งเป็นสกุลเงินกลางของอาเซียน และคงทําให้บรรดาประเทศอาเซียนเสียเปรียบในทางการค้า การเงิน และการลงทุน
ไปจนกว่าที่จะตกลงกัน   ทางสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีนได้เล็งเห็นปัญหานี้มาเกือบ 10 ปีแล้ว จึงได้รณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรดาประเทศอาเซียนได้กําหนดสกุลเงินกลางของตนเอง หรือใช้เงินสกุลเงินใดสกุลหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับนับถือกันเป็นสกุลเงินกลาง  และเห็นว่าสกุลเงินใหญ่ในโลกทุกวันนี้นอกจากสกุลเงินดอลลาร์และสกุลเงินยูโรที่มีลักษณะเป็นสากลแต่กําลังเสื่อมทรุดลงแล้ว ก็มีสกุลเงินหยวนที่มั่นคงแข็งแกร่ง และได้รับการยอมรับนับถือในทางสากลสมควรเป็นสกุลเงินกลางสกุลที่สามของโลกได้ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นความสําเร็จของจังหวะก้าวแรกและเป็นแบบอย่างให้เกิดความร่วมมือกับประเทศอาเซียนอื่นกับจีนติดตามมา              
                       จึงพอวิเคราะห์ได้ว่าเรื่องสกุลเงินกลางการใช้เงินสกุลเดียวกันก็ส่งผลให้ประเทศที่เข้าร่วมปรับตัวให้เข้าเกณฑ์ไปเองหรือเรียกว่า endogenous OCA โดยเงินสกุลเดียวจะช่วยเพิ่มปริมาณการค้า ซึ่งเป็นกลไกส่งผ่านสิ่งที่มากระทบเศรษฐกิจ(หรือ shocks) ไปยังประเทศอื่น (ตัวอย่างง่ายๆ คือ เมื่อเศรษฐกิจใดถดถอย หากไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนช่วยปรับสมดุล ประเทศคู่ค้าก็จะส่งออกได้น้อยลง เศรษฐกิจก็จะ
ซบเซาตามไปด้วย
) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น  การละทิ้งเงินสกุลตนมาใช้เงินสกุลร่วมยังได้ผลดีจากความน่าเชื่อถือในแง่ของการประกันว่าประเทศจะผูกกับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตลอดไป (irreversible fix)อันหมายถึง การรับวินัยด้านเศรษฐกิจจากภายนอก และจะได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารกลาง ซึ่งมีเงินทุนสำรองของประเทศในกลุ่มทั้งหมด
                        ดังนั้นจึงเห็นสมควรว่าประชาคมอาเซียนควรมีเงินตราสกุลกลาง   เพราะ มองเห็นว่า
1.             ประหยัดต้นทุนธุรกรรมในการแลกเปลี่ยนเงิน
2.             ประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
3.             มีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น
4.             ผู้บริโภคมีทางเลือกในสินค้ามากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง
5.             วงจรเศรษฐกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน
6.             เป็นการช่วยกระตุ้นการส่งออก
7.             การเคลื่อนย้ายแรงงานและฐานการผลิตอย่างเสรี
8.             การรวมตัวทางการเงิน (financial integration) ที่ผู้บริโภคสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ (ex ante)
9.             สร้างเสถียรภาพทางรายได้ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
10.      สามารถรักษาระดับการบริโภคได้ตามต้องการด้วยการกู้ยืมหรือให้กู้ในตลาดทุนภายหลังมีสิ่งมากระทบ(expost)
11.      เป็นตัวอย่างที่ดีของการรวมตัวทางการเงินที่มีการเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียนและการสร้างตลาดพันธบัตร ในภูมิภาค

                    แต่ก็มีปัญหาตามมาที่ต้องควรระวัง ซึ่งได้แก่
1.              กระตุ้นเศรษฐกิจในที่หนึ่งก็จะทำให้เกิดเงินเฟ้อในอีกที่หนึ่ง
2.              การขาดกลไกทางการเงินที่จะปรับสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
3.              ไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนไว้ปรับสมดุลเศรษฐกิจ